วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3. การออกกำลังกาย

3. การออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย จากภารกิจ การงานต่างๆ การทำงาน ในภาระหน้าที่ประจำ ถึงแม้ว่าร่างกายจะใช้กำลังในการทำงาน แต่ไม่ใช่การออกกำลังกาย เพราะ ระบบสมองและเส้นประสาทส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ได้ผ่อนคลาย การออกกำลังกายทำได้หลายอย่าง แล้วแต่สภาพของแต่ละบุคคล ทั้งสถานที่ เวลา สภาพร่างกาย สุขภาพ แต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ฉะนั้น แต่ละคนต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยทั่วไปจะเป็นการเดิน การวิ่ง การเล่นกีฬาต่างๆ แต่วิธีการต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 30 นาทีต่อครั้ง จึงจะได้ประโยชน์ และ ถ้าทำต่อเนื่องจนมีเหงื่อออกทุกครั้งจะดีมาก ร่างกายได้ขับของเสียออกทางผิวหนัง ทำให้รู้สึกสดชื่น มีพลังทั้งร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้น แต่ในสภาพความเป็นจริง ในปัจจุบัน เวลา สถานที่ หลายคนไม่สามารถไปเดิน วิ่ง ได้ ทำให้ต้องออกกำลังกายภายในบ้านด้วยเครื่องออกกำลังกายชนิดต่างๆ ซึ่งก็ใช้ได้ แต่ยังมีวิธีการออกกำลังกายอีกอย่างที่ใช้ได้ผลดี นั่นคือ การแกว่งแขน ซึ่งใช้สถานที่น้อยมากและไม่เสียเงินซื้อเครื่องออกกำลังกาย (มาตั้งไว้แล้วไม่ได้ใช้) สามารถทำได้ทุกเวลาที่ว่าง และอยากทำ มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อย่างน่าอัศจรรย์ การแกว่งแขนจะเป็นการกระตุ้นให้เลือดลมตื่นตัว เลือดที่เสียคั่งค้างไม่เดิน ก็จะมีแรงขับดัน ให้หมุนเวียนดีขึ้น เมื่อเลือดลมหมุนเวียนดี เลือดที่เสียถูกส่งกลับไปฟอกใหม่จนดี แล้วส่งกลับไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ร่างกาย ทำให้ส่วนของร่างกายที่มีปัญหาเช่น อัมพาต ความดันโลหิตสูง ไขข้ออักเสบ เป็นลม ได้รับการแก้ไข ชีพจรเกิดการเปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่สภาพปกติ
 วิธีการแกว่งแขน โดยเริ่มจากยืนตัวตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกัน ให้ระยะห่างเท่ากับช่วงไหล่ ปล่อยมือทั้งสองข้างลงข้างตัว หันอุ้งมือไปข้างหลังท้องน้อยหดเข้า เหยียดหลัง ผ่อนคลายกระดูก ลำคอ ศีรษะและปาก ปล่อยตามสบาย ปลายนิ้วเท้าจิกยึดเกาะพื้น ส่วนส้นเท้าให้ออกแรงเหยียบพื้นให้แน่น จนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่โคนเท้าและท้องตึง สายตาควรมองไปที่จุดใดจุดหนึ่ง
       กำหนดความรู้สึกมารวมอยู่ที่เท้าเท่านั้น แล้วเริ่มแกว่งแขนไปข้างหน้า แกว่งไปพร้อมกันทั้ง 2 ข้างเบาๆ ไม่ต้องสูงจนเกินไป แล้วปล่อยลง ออกแรงแกว่งขึ้นไปข้างหลัง ให้สูงเท่าที่จะทำได้ แล้วปล่อยลง ให้แรงเหวี่ยงส่งไปข้างหน้า ไม่ต้องออกแรง ให้ออกแรงมากเฉพาะไปข้างหลัง ระหว่างแกว่งแขน ต้องรู้สึกว่าส้นเท้ายืนแน่นอยู่กับที่ ทำให้ได้ครั้งละ 30 นาที หรือ 200-300 ครั้ง แล้วเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เท่าที่จะทำได้

 ประโยชน์ของการแกว่งแขน ทำให้หลายโรคที่เกี่ยวข้องกับการเดินของชีพจร เลือดลมดีขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคประสาท, โรคจิต, โรคไต, โรคอัมพาต, น้ำเหลืองเสีย, โรคมะเร็ง, เนื้องอก, โรคที่เกี่ยวกับสายตา, โรคตับ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรเดินออกกำลังกายพร้อมๆ กับแกว่งแขนตามจังหวะ ก้าวเดินให้สัมพันธ์กัน ซึ่งต้องใช้สมาธิพอสมควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น